เมื่อชมรมอนุรักษ์ป่าตะวันตกได้หารือกับหัวหน้าฯเอิบ เชิงสะอาด ณ หน่วยพิทักษ์ป่ามหาราช เรื่องการก่อสร้างที่ประทับองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ เขตุรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในวาระที่ปี ๒๕๔๘ นี้ ครบ ๔๐๐ ปี แห่งการสวรรคตขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นสิริมงคลและที่สักการะของราษฎรและผู้ปฏิบัติหน้าที่เฝ้ารักษาป่าผืนนี้ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักทราบถึง พระมหากรุณาธิคุณและพระบรมเดชานุภาพ ที่ทรงมอบผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและผืนแผ่นดินไทยนี้ ให้ปวงชนชาวไทยได้เกิดและอาศัยสืบกันมาตราบกระทั่งทุกวันนี้
หัวหน้าฯเอิบ เชิงสะอาด จึงพิจารณาหาสถานที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นที่ประทับองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วกำหนดให้ใช้พื้นที่ส่วนปีกขวาของอาคารสำนักงานหน่วยพิทักษ์ป่ามหาราช ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาใช้เป็นที่ก่อสร้างที่ประทับฯ หลังจากนั้นชมรมฯจึงได้ประสานงานเชิญ อาจารย์กิตติพงษ์ สุริยะทองชื่น ประติมากรเวียงฝาง มาทำการออกแบบ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ พร้อมดำเนินการออกแบบปั้นหล่อช้างทรงคู่พระบารมี "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" และไก่ชนสมเด็จฯ "ไก่เจ้าเลี้ยง" พร้อมกันไปด้วย
แล้วชมรมฯจึงได้ประสานงานติดต่อแจ้งผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาควัสดุและปัจจัยในการก่อสร้างที่ประทับฯ และในวันเสาร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๘ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ หัวหน้าฯเอิบ เชิงสะอาด พร้อมด้วยข้าราชการ พิทักษ์ป่า ลูกจ้างพนักงาน เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครชมรมอนุรักษ์ป่าตะวันตก ได้ร่วมกันทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขออนุญาตก่อสร้าง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เขตฯทุ่งใหญ่และเจ้าหน้าที่ชมรมฯและอาสาสมัครจึง เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามแบบเรื่อยมา จนงานสำเร็จลุล่วงในฤดูฝนปีเดียวกันนั้น และร่วมกันกระทำพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสถิต ประทับ ณ หน่วยพิทักษ์ป่ามหาราช เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในวันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ตรงกับขึ้นสี่ค่ำ เดือนสิบสอง
อันอังคาร สังขาร ของกูนี้ สี่ร้อยปี ผ่านแล้ว หามีไม่
ถึงกายกู ตัวกู จะจากไกล วิญญาณไซร้ ยังอยู่ คู่แผ่นดิน
ก็ผืนดิน ไทยถิ่นนี้ หรือมิใช่ ที่กูสู้ กู้ไว้ให้ เป็นทรัพย์สิน
ให้ผองไทย อยู่สุข ได้ทำกิน ถึงกายสิ้น จิตยังอยู่ คู่ถิ่นไทย
กูสู้กู้ แผ่นดินไทย ให้อิสสระ นำคนไทย สู่ชัยชนะ สว่างไสว
อนาคต โชติช่วง ศิวิไลซ์ แผ่นดินไทย ยั่งยืน ตลอดกาล
แผ่นดินไทย ถิ่นนี้คง ความศักดิ์สิทธิ์ แม้นใครคิด มุ่งร้าย ต้องสังหาร
เหตุเพราะกู ผู้หาญสู้ ผู้รุกราน ยืนตระหง่าน ทรนง ปกปักษ์ไทย
ผืนดินไทย เคยท่วมนอง ด้วยสีเลือด เลือดรักไทย ไหลหลั่ง ดั่งน้ำไหล
หากไทยต้อง ยืนยง คงชื่อไทย ไม่มีใคร ลุกขึ้นสู้ กูสู้เอง
อำพล ฐาปนพันธ์นิติกุล
แก้ไขแต่งถวาย
๒๖ เมษายน ๒๕๔๗
ปรับปรุงจาก บทกลอนนิรนาม
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.พระแท่น จ.กาญจนบุรี
รายนามผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง
ในการก่อสร้างที่ประทับองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในวาระ ๔๐๐ ปี แห่งการสวรรคต
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
๑. ครอบครัวถวัลย์เสรีวัฒนา | ๓๕,๐๐๐ |
๒. คุณธนัช วรรัฐฤติกร และครอบครัว | ๒๕,๐๐๐ |
๓. คุณประโชค แซ่ซิ้ม(EDDIE SIM) | ๑๑,๘๐๐ |
๔. ครอบครัวอุตวิชัย | ๖,๕๐๐ |
๕. คุณไพศาล ปิ่นสกุล | ๕,๐๐๐ |
๖. ครอบครัววิริยะเอกกุล และครอบครัวสุดฟุ้ง | ๔,๕๐๐ |
๗. คุณสมคิด งามเชวง และครอบครัว | ๔,๒๐๐ |
๘. คุณอภิเชษฐ สิทธิโชค และครอบครัว | ๔,๒๐๐ |
๙. คุณสุทิน สอดศรี และครอบครัว | ๓,๒๐๐ |
๑๐. คุณชิงชัย คุณสมใจ เสริฐคัมภ์ศร | ๓,๒๐๐ |
๑๑. คุณสกล ตรีหิรัญกิจ (หจก. SKT) | ๓,๒๐๐ |
๑๒. บริษัท โลคอลเน็ต จำกัด | ๒,๗๐๐ |
๑๓. ด.ญ.กชกร ด.ญ. กัญญกร กานต์โกศล | ๒,๒๕๐ |
๑๔. คุณลีนวัฒน์ ตันเจริญ และครอบครัว | ๒,๒๕๐ |
๑๕. ครอบครัวฐาปนพันธ์นิติกุล | ๒,๐๐๐ |
๑๖. คุณพงษ์ธร พุทธรักษา และครอบครัว | ๒,๐๐๐ |
๑๗. คุณบุญมี ฉันทประเสริฐพร | ๑,๖๐๐ |
๑๘. คุณรุ่งโรจน์ กิตติศรีสมบูรณ์ | ๑,๖๐๐ |
๑๙. คุณสมเกียรติ นาคผดุงสุข | ๑,๖๐๐ |
๒๐. พ.ต.ต. ยงยุทธ ดวงวงษ์ และครอบครัว | ๑,๖๐๐ |
๒๑. คุณนภา อำพรรณ | ๑,๖๐๐ |
๒๒. น.พ. สมปอง เพ็ญสุข | ๑,๕๐๐ |
๒๓. น.พ. วิชัย รัตนแสงพันธุ์ | ๑,๕๐๐ |
๒๔. คุณไวพจน์ คุณสร้อย โต่งจันทร์ | ๑,๐๐๐ |
๒๕. คุณวิศิษฏ สมานวณิชย์ | ๑,๐๐๐ |
๒๖. คุณสุภชัย อู่ตะเภา | ๑,๐๐๐ |
๒๗. สอ. กระทุ่มแบน | ๑,๐๐๐ |
๒๘. คุณสวัสดิ์ คุณจำลอง เปาทุย | ๑,๐๐๐ |
๒๙. โฆสิต ภวาภิรมย์ | ๗๐๐ |
๓๐. คุณถนอมศรี วิเชียรวัฒน์ | ๕๐๐ |
๓๑. พ.ต.ท. บุญทวี สุดใจธรรม | ๕๐๐ |
๓๒. คุณเตียว คีตลักษณ์ | ๕๐๐ |
๓๓. น.พ. บุญชัย ตั้งสง่าศักดิ์ศรี | ๕๐๐ |
๓๔. คุณไพศาล จำเนียรดำรงการ | ๔๐๐ |
๓๕. คุณสมชาย ศรสุวรรณวุฒิ | ๓๐๐ |
๓๖. คุณอุดม ตรีชั้น | ๒๐๐ |
๓๗. คุณยุทธนา คุณพัชรา ฮะเจริญ | ๒๐๐ |
๓๘. คุณสุพัตรา ชื่นอิ่ม | ๒๐๐ |
๓๙. พ.จ.อ. ทวีศักดิ์ ศิวยุทธกิจ | ๒๐๐ |
๔๐. สอ. แคราย | ๒๐๐ |
๔๑. สอ. คลองมะเดื่อ | ๒๐๐ |
๔๒. สอ. ดอนไก่ดี | ๑๐๐ |
๔๓. สอ. ท้องคุ้ง | ๑๐๐ |
๔๔. คุณไพรัช งามดอกไม้ | ๑๐๐ |
๔๕. คุณนภัค กระทุ้งทอง | ๑๐๐ |
๔๖. คุณศรัญญา มีโฉมยา | ๑๐๐ |
๔๗. คุณอัชรา สร้อยมณี | ๑๐๐ |
๔๘. คุณอุไรรัตน์ ชนะบำรุง | ๑๐๐ |
๔๙. คุณประทุมทิพย์ ด้วงเจริญ | ๑๐๐ |
๕๐. คุณอัมพร สิทธิจาด | ๑๐๐ |
๕๑. คุณจิรายุ เจียมกีรติกานนท์ | ๑๐๐ |
๕๒. คุณกิตติพันธ์ จิตวิทิต | ๑,๐๐๐ |
ในการก่อสร้างที่ประทับองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่เริ่มต้นงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ และสำเร็จลุล่วงในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนี้ กำลังสำคัญส่วนหนึ่งคือทีมงานประติมากรเวียงฝาง นำโดย อาจารย์กิตติพงษ์ สุริยะทองชื่น ผู้ซึ่งร่วมกับคณะประติมากรอีก ๕ ท่าน ทุ่มเทแรงกายแรงใจตลอดระยะเวลาเกือบสองเดือนในการออกแบบช้างทรงและไก่ชน ปั้นหล่อสร้างถวาย นอกจากการออกแบบที่ประทับฯ และการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง รวมทั้งภาพวาดสีน้ำมันขนาดเท่าพระองค์จริงถวายอีกด้วย
ช้างทรง "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" เดิมชื่อ "พลายภูเขาทอง" ซึ่งภายหลังเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี ได้รับพระนามว่า "เจ้าพระยาปราบหงสา" หรือที่ราษฎรทั่วไปเรียกกันว่า "ช้างกู้แผ่นดิน" และไก่ชนสมเด็จฯ ซึ่งสองสิ่งนี้นับเป็นของคู่พระองค์ฯที่จะพบเสมอในทุกแห่งที่องค์สมเด็จพระ นเรศวรมหาราชประทับอยู่ ณ บรมราชานุสาวรีย์ และศาลสมเด็จฯ ตามสถานที่ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศไทย ประวัติศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าพระยาไชยานุภาพ ที่สมเด็จพระนเรศวรได้ประทับออกรบโดยเฉพาะในสงครามยุทธหัตถีนั้น นับเป็นวีรกรรมที่แสดงออกถึงพระปรีชาชาญและความกล้าหาญของสมเด็จพระองค์ดำ และเจ้าพระยาไชยานุภาพอย่างแท้จริง ที่ทั้งสมเด็จพระองค์ดำและเจ้าพระยาไชยานุภาพเสี่ยงชีวิตกระทำการศึกในสนาม รบร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งส่งผลให้ประชาชนชาวไทยและแผ่นดินไทยอยู่สงบร่มเย็นต่อมาโดยไม่มีกองทัพ ของชนชาติใดเข้ามารังควาญต่อมาเกือบ ๑๖๐ ปี สมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ทราบและศึกษาพระราชประวัติเพิ่มเติมโดยละเอียด เพื่อได้ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ที่ได้กอบกู้แผ่นดินไทยให้พวกเราชาวไทยได้อยู่อาศัยสืบต่อกันมา รวมทั้งได้ตระหนักถึงความกล้าหาญและเสียสละของเจ้าพระยาไชยานุภาพช้างทรงกู้ แผ่นดินที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรยิ่งกว่าช้างเชือกใดในประวัติศาสตร์ของไทยนี้
ในส่วนงานออกแบบปั้นหล่อช้างทรงนั้น มีขบวนการเทคนิคหลายขั้นตอน แต่ส่วนที่ยากที่สุดนอกจากการจัดวางท่าร่างให้ดูสง่างาม และ สัดส่วนถูกต้องตามลักษณะที่บรรยายไว้ในหนังสือจดหมายเหตุและเอกสารประวัติ ศาสตร์ต่างๆแล้วก็คือดวงตา ที่จะต้องแสดงออกถึงบารมีอำนาจ ความสุขุมเยือกเย็นที่ต้องแตกต่างจากช้างป่าหรือช้างบ้านโดยทั่วไป ส่วนไก่ชนสมเด็จฯ พันธุ์เหลืองหางขาว ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ไก่เจ้าเลี้ยง" ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำมาจากบ้านกร่าง จ.พิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชที่หงสาวดีในอดีตนั้น แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความยากในการออกแบบปั้นหล่อเช่นเดียวกัน นับเป็นอีกหนึ่งผลงานประติมากรรมที่ อาจารย์กิตติพงษ์ สุริยะทองชื่น และคณะประติมากรเวียงฝากภาคภูมิใจ
รายนามประติมากรแห่งเวียงฝาง
นายกิตติพงษ์ สุริยทองชื่น
นายสายันต์ นาแพร่
นายอำนาจ กาบวัง
นายกฤตศิลป์ นาคฤทธิ์
นายอรรณพ สุริวงศ์
นายไกรสร อิกำเหนิด