เป้าหมาย
ติดตามประชากรเสือโคร่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกด้วยการบันทึกภาพถ่ายด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (camera trap) การบันทึกเก็บข้อมูลร่องรอยของเสือโคร่ง เช่น กองมูล รอยคุ้ย รอยตีน รอยสเปรย์ รวมทั้งการเก็บข้อมูลพื้นที่ เช่น บ่อน้ำ ด่านสัตว์ ลักษณะป่า พันธุ์พืช สัตว์ป่า ฯลฯ และการทำแปลงสำรวจเหยื่อของเสือ
แผนการดำเนินงานวิจัย
ในครั้งนี้ใช้หน่วยพิทักษ์ป่ามหาราช ที่ตั้งศูนย์พิทักษ์ป่าที่ ๒ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นที่ตั้งการปฏิบัติงานภาคสนามงานวิจัยเสือ หัวหน้าณเอิบ เชิงสะอาด ผู้อำนวยการดำเนินงานทีมเสือทุ่งใหญ่ ผู้ช่วยมนตรี แข็งเขตการณ์ ผู้จัดการทีมเสือทุ่งใหญ่ นายจิตติ สวัสดิ์สาย ฝ่ายประสานงานสนับสนุนภาคสนาม นายประนุช ภูมิพุก เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคานาม นายอำพล ฐานปพันธ์นิติกลุ ประสานงานโครงการ สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ฝ่ายแผนและควบคุมการดำเนินงานวิจัย สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า WCS ประเทศไทย สนับสนุนกล้องและเครื่องมือในการดำเนินงาน ชมรมอนุรักษ์ป่าตะวันตกสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ปฏิบัติงานวิจัยภาคสนามด้วยกำลังพลเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ และชมรมอนุรักษ์ป่าตะวันตก
แบ่งพื้นที่งานวิจัยออกเป็นสองแปลง ในพื้นที่ประมาณ ๕๒๐ ตรารางกิโลเมตร ติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติแปลงละ ๑๕ จุด จุดละ ๒ ตัว จุดตั้งกล้องแต่ละจุดมีระยะห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร ใช้เวลาติดตั้งและเก็บกล้องในแต่ละแปลงครั้งละ ๒ วัน ตรวจเช็คกล้องที่ติดตั้งทุกจุดทุก ๓ วัน
แปลงงานวิจัยที่ ๑ เริ่มดำเนินการระหว่างวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน - ๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
แปลงงานวิจัยที่ ๒ เริ่มดำเนินการระหว่างวันที่ ๕ - ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
เปิดประชุมเริ่มต้นการดำเนินงานวิจัยเปิดแค็มป์เสือวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๙
ประชุมสรุปผลการดำเนินงานภาคสนามปิดแค็มป์เสือวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๙
- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
- เขตฯทุ่งใหญ่นเรศวร
- โครงการและงานภาคสนาม
- รายงานการสำรวจและวิจัย
- คลังข้อมูลป่า-สัตว์ป่า
- ข่าวสารทั่วไป
- ข่าวมูลนิธิฯ
- บทความอนุรักษ์
CONVERSATION