วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ผู้ช่วยฯหยาง สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตฯห้วยขาแข้ง ได้ส่งภาพเสือโคร่งเพิ่มเติมที่ได้จากงานวิจัยเสือเขตฯทุ่งใหญ่ในส่วนของการดำเนินงานในแปลงที่สอง ผ่านระบบการสื่อสารดาวเทียมที่ชมรมฯได้สนับสนุนการก่อสร้างไว้ระหว่างขั้นตอนการเตรียมการ เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยแก่หน่วยงานทั้งสองในวาระครบรอบ ๑๕ ปี ของผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยเสือเขตฯทุ่งใหญ่ที่ผ่านมาด้วย
จากการดำเนินงานวิจัยเสือเขตฯทุ่งใหญ่ครั้งนี้ ได้ภาพถ่ายของเสือโคร่งจำนวนทั้งสิ้น ๗ ตัว และจำแนกไม่ได้อีก ๒ ตัว และภาพสัตว์ป่าต่างๆจำนวนมากรวมฟิลม์ที่ใช้ในงานวิจัยฯครั้งนี้ ๙๕ ม้วน ซึ่งข้อมูลใหม่นี้ จะถูกรวบรวมบันทึกจัดเก็บเพิ่มเข้าในฐานข้อมูลเสือโคร่งของสถานีวิจัยสัตว์ ป่าเขานางรำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า WCS ประเทศไทย จัดทำขึ้น รวมทั้งการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และวีซีดีในงานประชาสัมพันธ์ของเขตฯทุ่งใหญ่ในอนาคต เพื่อให้ความรู้และสร้างสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าไม้และสัตว์ป่าแก่ประชาชนด้วย
ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยฯนี้ จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการพื้นที่เพื่อการ อนุรักษ์เสือโคร่งที่มีประชากรเหลืออยู่ในผืนป่าตามธรรมชาติไม่มากแล้วใน ปัจจุบัน และรวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆด้วย นอกเหนือจากผลที่ได้รับจากความสุขความยินดีในหมู่เจ้าหน้าที่ "คนเฝ้าป่า" และผู้ร่วมงานที่ได้เห็นภาพเสือโคร่งและสัตว์ป่าของทุ่งใหญ่ ที่ได้ช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจในการทำงานของเขาเหล่านั้น ต่อไป
ขอบคุณ หัวหน้าศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ และเจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ สมคมอนุรักษ์สัตว์ป่า wcs ประเทศ ไทย หัวหน้าเอิบ เชิงสะอาด และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เจ้าหน้าที่อาสาสมัครชมรมอนุรักษ์ป่าตะวันตกและผู้สนับสนุน ที่ร่วมมือช่วยกันดำเนินงานวิจัยฯครั้งนี้จนประสบความสำเร็จ และจะได้นำข้อมูลความรู้ที่ได้เพิ่มเติมนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนจัดการ เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่าอื่นๆต่อไป
- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับมูลนิธิฯ
- เขตฯทุ่งใหญ่นเรศวร
- โครงการและงานภาคสนาม
- รายงานการสำรวจและวิจัย
- คลังข้อมูลป่า-สัตว์ป่า
- ข่าวสารทั่วไป
- ข่าวมูลนิธิฯ
- บทความอนุรักษ์
CONVERSATION